โทรทัศน์ครู อาจารย์ สง่า ทรัพย์เฮง
สนุกวิทย์ คิดทดลอง
ตอน ขวดประดาน้ำ แรงดันอากาศ
ในการสอนนั้นการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นสำคัญที่สุด เพราะเด็กจะเกิดการสนใจ
มีการ แอะ อ๊ะ โอ๊ะ การสอนเรื่องขวดประดาน้ำ โดยใช้สื่อปลอกปากกาถ่วงลอยในขวดน้ำดื่ม
แสดงการจม การลอยของมวลปลอกปากกา
เด็กจะเกิดการสนใจและมีความสนุกสนานใจการเรียนและเด็กก็จะได้เปรียบเทียบกับเรือดำน้ำ
การลอยของไข่ไก่ในตัวแปรต้นที่เป็นสารละลายเข้มข้นแตกต่างกัน โดยครูมีการตั้งคำถาม
ให้เด็กคิดและทดลองเด็กก็จะหาวิธี และหาคำตอบให้ครู
สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากแหล่งโทรทัศน์ครู
จากแหล่งโทรทัศน์ครู
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ
สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้
การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา
เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา
เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก
ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย
ได้รับการพัฒนา มี 7
ทักษะกระบวนการ คือ
ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด
ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
ทักษะการคำนวณ
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้
ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต
การจำ
และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้
ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
การเรียนวิทยาศาสตร์
เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา คือ
1. ความสามารถในการสังเกต การจำแนก
การแจกแจง การดู ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์
2. ความสามารถในการคิด
การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน
เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น
ๆ
4. การสรุปข้อความรู้ หรือมโนทัศน์จากการสังเกต และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น