สรุปวิจัย เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย ศรีนวล ศรีอ่ำ
ผลการวิจัยพบว่า 1.
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี 2.
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
ได้สรุปไว้ว่า เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก
การสำรวจ สังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การชิมรส การรู้สึก การผลัก
การดึงการหมุน การผสม การเปรียบเทียบ และอื่น ๆ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเรียนรู้ข้อมูลเนื้อหา
และท่องจำกฎหรือสูตรต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็น กระบวนการสังเกต
การคิดและสะท้อนความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น สนใจโลกที่ล้อมรอบตัว
เป็นการจัด ประสบการณ์เพื่อให้เด็กคิดและแก้ปัญหา และนอกจากนี้ผู้วิจัยใช้หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามที่ ประสาท เนืองเฉลิม (2546, หน้า 26 - 27)
เสนอแนะว่าจะสร้างการเรียนรู้ในตนให้กับเด็ก ซึ่งประกอบด้วย
ขั้นตอนปฏิบัติการเรียนการสอนคือ 1) ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
การลงมือกระทำจริงด้วยตนเอง การได้รับ ประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2) จัดกิจกรรมตามสภาพจริง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็ก อาศัยอยู่ 3)
จัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่มีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก 4)
สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ครูกับเด็ก ครูต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำกำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และ 5) สะท้อนความคิด ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้
การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรอง ถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด ทักษะการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติ และทักษะการลงความเห็น
วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้ ใช้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลากห้องเรียน
1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะ การวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7
สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35
สรุปผลการวิจัย 1)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ภาพรวมอยู่ในระดับดี ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น