วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

เขียนโดย Unknown ที่ 09:18
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  26 กันยายน 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.



กิจกรรม อาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยมีอุปกรณ์ ดังนี้





1.กระดาษ    



2.กรรไกร    




3.กิ๊บหนีบกระดาษ   





วิธีการทำ

1.พับกระดาษตรงกลาง



2.พับกระดาษตรงปลาย



3.พับกระดาษตรงปลายและตัดปลายเล็กน้อย




4.จากนั้นพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดหน่อยและนำคลิปหนีบกระดาษมาติด







บทความของเพื่อนในการออกมานำเสนอ


เรื่องที่ 1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย นำเสนอโดย นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์


เรื่องที่ 2  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นำเสนอโดย นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร        
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก



เรื่องที่ 3 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  นำเสนอโดย นางสาวบุษราคัม สะรุโณ
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย


เรื่องที่ 4 สอนลูกเรื่องอากาศ นำเสนอโดย นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย


เรื่องที่ 5ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาวเนตรนภา ไชยแดง

ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า



งานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม














การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในชั้นเรียนไปลองเล่นกับเด็กๆ และให้เด็กลองสังเกตว่าการที่เราหมุนของกังหัน และยังใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้อีกด้วย



การประเมินผล(Evaluation)


ประเมินตนเอง(Self) 
  วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมทำกิจกรรม มีการจดบันทึกในระหว่างอาจารย์สอน และ ทำกิจกรรมในห้องอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน(Friends)
  เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และสนุกสนานกับการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก การแต่งกาย สุขภาพเรียนร้อย เพื่อนมีการให้ความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดีและแต่ละกลุ่มก็ทำงานได้สวยงามทุกกลุ่มเลย

ประเมินอาจารย์(Teachers)
   ในวันนี้อาจารย์มีการเตรียมสื่อมาให้นักศึกษาได้ทำและเป็นสื่อที่ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไปทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ของเด็กและอาจารย์ก็มีการอธิบายและยกตัวอย่างจากงานที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มได้ทำมา ได้เข้าใจและให้คำแนะนำกับข้อที่บกพร่องด้วย




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Science Experiences Management for Early Childhood Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez