วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

เขียนโดย Unknown ที่ 23:06 0 ความคิดเห็น





โทรทัศน์ครู อาจารย์ สง่า ทรัพย์เฮง
สนุกวิทย์ คิดทดลอง
ตอน ขวดประดาน้ำ แรงดันอากาศ
    ในการสอนนั้นการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นสำคัญที่สุด เพราะเด็กจะเกิดการสนใจ มีการ แอะ อ๊ะ โอ๊ะ การสอนเรื่องขวดประดาน้ำ โดยใช้สื่อปลอกปากกาถ่วงลอยในขวดน้ำดื่ม แสดงการจม การลอยของมวลปลอกปากกา เด็กจะเกิดการสนใจและมีความสนุกสนานใจการเรียนและเด็กก็จะได้เปรียบเทียบกับเรือดำน้ำ การลอยของไข่ไก่ในตัวแปรต้นที่เป็นสารละลายเข้มข้นแตกต่างกัน โดยครูมีการตั้งคำถาม ให้เด็กคิดและทดลองเด็กก็จะหาวิธี และหาคำตอบให้ครู



สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
จากแหล่งโทรทัศน์ครู

    วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
 ทักษะการสังเกต
 ทักษะการจำแนกประเภท
 ทักษะการวัด
 ทักษะการสื่อความหมาย
 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
 ทักษะการคำนวณ

   การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง


การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง



 




ความลับของแสง

เขียนโดย Unknown ที่ 21:48 0 ความคิดเห็น


ความลับของแสง






ความลับของแสง
แสง คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกจากอะตอม มันเป็นกลุ่มก้อนของพลังงานที่มีโมเมนตัมแต่ไม่มีมวล อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า โฟตอน

ความหมายของแสง
แสงคือคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นของน้ำทะเล มีความยาวของคลื่นสั้นมาก และในขนาดเดียวกันก็เคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่าแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาทีนั้นเอง
       ตาของคนเรานั้นมีรูเล็ก เรียกว่ารูรับแสง เมื่อภาพผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัว แต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกติไม่กลับหัว เพราะว่าสมองกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติแล้ว
       ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเวลา เช่นเดียวกับการส่งกระจก จะกลับข้างกับตัวเราเสมอ

การหักเหของแสง (Refraction of Light)
เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
       เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก
  การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
       การหักเหของแสง เกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนล่ะชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ แสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
        เงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง เป็นหลักธรรมชาติคือเงาของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขว้างทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืน จะสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงานั้นเอง

วัตถุต่างๆบนโลกมีด้วยกันทั้งหมด3แบบ
1. วัตถุโปร่งแสง คือแสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า
2. วัตถุโปร่งใส คือแสงผ่านไปได้ทั้งหมด มองเห็นชัดเจน เช่น กระจกใส
3. วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา เช่น ตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสง และสิ่งของต่างๆอีกมากมาย

ความสำคัญ
ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ แสงมีความสำคัญมากกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเราอยู่ในความมือแล้วจู่ๆก็สว่าง เราก็จะแสบตามองเห็นไม่ชัด เกิดจากตายังปรับตัวกับแสงสว่างไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไป เราก็หลับตาสักพักแล้วลืมตาใหม่ ก็จะเหมือนเดิมนั้นเอง
   สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้นั้น ก็เพราะว่า แสงส่องมาโดนวัตถุ แล้วแสงก็จะสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตาของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง ซึ่งการเดินทางของแสงจะพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทางไปจนไปถึงวัตถุ

คุณสมบัติ
คุณสมบัติของแสงเราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้แล้ว ยังมีอีก เช่นใช้แผ่นพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปยังทิศที่ต้องการ ใช้พลาสติกใสปิดดวงไฟเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้งนั้น

 แสงสี หรือสีของแสง ( Colour of Light )
จากการศึกษาเรื่องการกระจายแสงเราพบว่าแสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาวที่ประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ ที่ตามองเห็นอยู่ในช่วง ดังนี้
ตาราง  แสดงความยาวคลื่นของแสงสีต่าง ๆ






แผ่นกรองแสงสี  (  Coloured   Filler )
                เป็นแผ่นพลาสติกหรือแผ่นแก้วใสที่มีสี  เมื่อนำแผ่นกรองแสงสีไปกั้นแสงขาวจากดวงอาทิตย์หรือจากหลอดไฟประเภทไส้หลอดสุกสว่างแล้วผ่านไปยังปริซึม  พบว่าแสงที่ออกมาจะเป็นแสงสีตามสีของแผ่นกรองแสงนั้น ๆ หรืออาจมีแสงสีอื่นรวมออกมาด้วยเล็กน้อย ดังนั้น เราอาจแบ่งชนิดของวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านได้หรือไม่ได้ในปริมาณต่างกันได้ 3 ประเภท
1.  วัตถุโปรงใส ( Transparent Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้เกือบหมดอย่างเป็นระเบียบเราจึงมองผ่านวัตถุนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น น้ำใส แก้วใส เป็นต้น
2.  วัตถุโปร่งแสง ( Translucent Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้บ้าง แต่ไม่เป็นระเบียบเราจึงมองผ่านวัตถุนี้ได้ไม่ชัด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า เป็นต้น
3.  วัตถุทึบแสง ( Opaque Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปไม่ได้เลย แสงทั้งหมดจะถูกดูดกลืนไว้หรือสะท้อนกลับ เราจึงไม่สามารถมองผ่านวัตถุชนิดนี้ได้ เช่น กระจกเงา ผนังตึก เป็นต้น
                สารสี ( Pigment )
                ในวัตถุทึบแสง เมื่อให้แสงขาวตกกระทบ แสงจะไม่สามารถทะลุผ่านไปได้แต่จะสะท้อนกลับและในการสะท้อนแสงออกมาพบว่าวัตถุต่างชนิดกันปริมาณแสงและแสงสีที่สะท้อนก็ต่างกันด้วย เราจึงเห็นวัตถุนั้นมีสีต่าง ๆ กันตามแสงสีที่สะท้อนกลับออกมา  ตัวที่กำหนดแสงสีที่จะสะท้อนกลับออกมาหรือดูดกลืนแสงสีต่าง ๆ ไว้ก็คือ สารสี ในวัตถุนั้น ๆ เช่น การมองเห็นใบไม้เป็นสีเขียว  และดอกไม้เป็นสีแดงเป็นเพราะในใบไม้มีคลอโรฟิลเป็นสารสีเขียว ซึ่งดูดกลืนแสงบางสีไว้ และสะท้อนแสงสีเขียวออกมามากที่สุด  ส่วนดอกไม้จะมีสารสีสีแดง  ซึ่งดูดดกลืนแสงบางสีไว้ และสะท้อนแสงสีแดงออกมามากที่สุด ทำนองเดียวกัน สารสีสีดำจถดูดกลืนแสงทุกสี ที่ตกกระทบทำให้ไม่มีแสสงสีใด ๆ สะท้อนออกมาเลย  เราจึงเห็นวัตถุเป็นสีดำ ส่วนสารสีสีขาวจะสะท้อนแสงทุกสีที่ตกกระทบ จึงเห็นแสงสีรวมกันเป็นสีขาว
                การผสมสารสี
                การที่เราเห็นวัตถุมีสีใด  ก็เนื่องจากแสงสีนั้นสะท้อนจากวัตถุมาเข้าตา  ส่วนการเห็นแสงสีทะลุผ่านวัตถุนั้นไม่ค่อยได้พบเห็นนัก แสงสีใดจะสะท้อนออกจากวัตถุก็เนื่องจากสารสีที่ผิววัตถุนั้น ๆ ถ้าต้องการเห็นสีตามธรรมชาติของวัตถุ จะต้องดูวัตถุนั้นด้วยแสงขาวตามธรรมชาติจากดวงอาทิตย์
                สารสีปฐมภูมิ  เป็นสารสีที่ไม่อาจสร้างขึ้นจากการผสมของสารสีอื่น ๆ ได้มีด้วยกัน 3 สี  คือ สีเหลือง สีแดงม่วง และ สีน้ำเงินเขียว
การดูดกลืนและการสะท้อนของสารสีปฐมภูมิ เมื่อผ่านแสงขาวจากดวงอาทิตย์ มีดังนี้
                สารสีเหลือง  จะไม่ดูดกลืน ( สะท้อน ) แถบสีเหลือง นอกนั้นดูดกลืนหมด
                สารสีแดง จะไม่ดูดกลืน ( สะท้อน ) แถบสีแดงม่วง นอกนั้นดูดกลืนหมด
                สารสีน้ำเงินเขียว จะไม่ดูดกลืน ( สะท้อน ) แถบแสงสีน้ำเงินเขียว นอกนั้นดูดกลืนหมด
                ถ้านำสารสีปฐมภูมิทั้ง 3 สี มาผสมกันด้วยปริมาณที่เท่า ๆ กัน จะได้สีผสมที่มีสมบัติดูดกลืนแสงสีทุกแถบสีในสเปกตรัมแสงขาวที่มาตกกระทบ สารสีผสมนี้คือ สารสีดำ ดังแสดงโดย แอนนิเมชัน(Flash Animation)


                                      



การสะท้อนแสงสีของสารสีปฐมภูมิ

หมายเหตุ : ถ้านำสารสีปฐมภูมิมาผสมกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน จะเกิดเป็นสารผสมได้หลายสี ยกเว้นสารสีขาว ไม่อาจทำให้เกิดได้ด้วยการผสมสารสีอื่น ๆ






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

เขียนโดย Unknown ที่ 03:05 0 ความคิดเห็น


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28 พฤษจิกายยน 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.


กิจกรรมที่เรียนในวันนี้

  วันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นพับ สานสัมพันธฺ์ ระหว่างบ้านกับโรงเรียน โดยให้คิดคำใหม่ๆ เช่น วัตถุประสงค์ก็เปลี่ยนเป็นบอกเล่า 90  โดยแผ่นพับนี้ให้ตั้งชื่อ โรงเรียน เกมส์ และมีคำคล้องจองหรือเพลง และบอกหน่วยที่จะสอนให้ผู้ปกครองได้ทราบว่าจะสอนเรื่องอะไร และแผ่นพับของเพื่อนแต่ละหน่วยก็มีดังนี้



 -หน่วยกะหล่ำปี    (cabbage)

-หน่วยกบ   (frog)

-หน่วยไก่   (chicken)

-หน่วยกล้วย   (bananas)

-หน่วยผีเสื้อ   (butterfly)

-หน่วยส้ม   (orange)

-หน่วยแปรงสีฟัน   (toothbrush)

-หน่วยดอกมะลิ  (jasmine)


         โดยมีภาพดังนี้















การประเมินผล(Evaluation)

                 ประเมินตนเอง(Self)
          เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานกลุ่ม ช่วยเพื่อนคิดใน หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกัยแผ่นพับ

              ประเมินเพื่อน (Friends)
              เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันทำแผ่นพับ ภายในกลุ่มของตัวเอง และทุกคนก็ช่วยกันทำงานเป็นอย่างดี

             ประเมินอาจารย์ (Teachers)
                 อาจารย์มีเทคนิคในเรื่อง การทำแผ่นพับและให้นักศึกษา แต่ละกลุ่มลองทำและอธิบายวิธีการทำ และให้เราลองทำเอง










วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

เขียนโดย Unknown ที่ 08:38 0 ความคิดเห็น


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 พฤษจิกายยน 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.





กิจกรรมในวันนี้

  วันนี้อาจารย์ให้ส่งสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์ หรือ Toy  science โดยมีเกณฑ์ ในการจัดกลุ่มดังนี้









            
   ประเภท ( Category ) ที่ 1  

ได้ วิทยาศาสตร์(science) เรื่องของแรงลม 





 ประเภท ( Category ) ที่ 2 

ได้ วิทยาศาสตร์(science) เรื่องของแรงดึง








ประเภท ( Category ) ที่ 3



ได้ วิทยาศาสตร์(science) เรื่องของแรงโน้มถ่วง


















ประเภท ( Category ) ที่ 4



ได้ วิทยาศาสตร์(science) เรื่องของเสียง

















ประเภท ( Category ) ที่ 5



ได้ วิทยาศาสตร์(science) เรื่องของแรงดัน




















จากนั้นเพื่อนก็นำเสนอ วิจัย (Research)

คนที่1
เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ คุณ ศรีนวล ศรีอ่่า

คนที่2
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

คนที่3
เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

คนที่4 โทรทัศครู เรื่อง ส่องนกในโรงเรียน

คนที่5 โทรทัศครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ เฉลิมชัย วัดเจ้าหลาม

คนที่6 โทรทัศครู เรื่อง สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ

คนที่7 เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

คนที่8
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

คนที่9
เรื่อง วิธีการสอนแบบบูรณาการปฐมวัย

คนที่10
เรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย 





จากนั้นเป็นการทำขนมวาฟเฟิล (waffle)

อุปกรณ์ในการทำ





อาจารย์แนะนำอุปกรณ์และบอถึงวิธีการทำ








จากนั้นให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มไปหยิบอุปกรณ์



และเมื่อได้ครบแล้วให้เราผสมแป้งและทำเป็นกลุ่ม



โดยมีไส้ขนมดังนี้




1.กล้วยหอม









2.คอนเฟรก






3.ซ็อกกาแลต




4.แยมสตอเบอรี่




5.ลูกเกด





6. ข้าวโพด




7.ฝอยทอง







จากนั้นอาจารย์สาธิตวิธีการทำให้นักศึกษาดู 





จากนั้นก็ให้ทุกคนลองทำ






เสร็จเรียบร้อย  (waffle) ของกลุ่มเรา





การประเมินผล(Evaluation)

                 ประเมินตนเอง(Self)
          ตั้งใจดูเวลาเพื่อนนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาตร์และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สอน วันนี้ได้ทำขนมสนุกมาก และอร่อยด้วยฝีมือตัวเอง

              ประเมินเพื่อน (Friends)
              เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และทุกคนก็ตื่นเต้นในการทำกิจกรรม

             ประเมินอาจารย์ (Teachers)
                 อาจารย์มีเทคนิคในเรื่อง การทำขนม มีการเตรียมอุปกรณ์ทุกให้นักศึกษา และอธิบายวิธีการทำ และให้เราลองทำเอง กิจกรรมวันนี้สนุกมาก






 

Science Experiences Management for Early Childhood Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez