วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

เขียนโดย Unknown ที่ 22:53 0 ความคิดเห็น
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  24 ตุลาคม 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.

กิจกรรมวันนี้

 วันนี้เพื่อนนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ดังนี้

1.จรวดจากหลอด
2.รถของเล่น
3.โยนไข่ไม่แตก
4.ไหมพรมเต้นระบำ
5.ปลาตากลม
6.กระป๋องโยกเยก
7.ป๋องแป๋ง
8.โมบายสายรุ้ง
9.แก้วกระโดด
10.นักประดาน้ำ
11.ฟองสบู่
12.ขวดน้ำหนังพลาสติก
13.กบกระโดด
14.จรวดจากหลอดกาแฟ
15.บูมเมแรง
16.รถหลอดได้
17.กระป๋องผิวปาก
18.จั๊กจั่น
19.ปืนยิงลูกบอล
20.ธนูจากไม้ไอศกรีม
21.กลองแขก
22.ประทัดกระดาษ
23.ตุ๊กตาล้มลุก
24.รถล้อเดียว
25.รถเป่าลม
26.เรือโจรสลัด
27.กังหน
28.เรือใบ
29.ทะเลในขวด
30.ไก่กระต๊าก
31.แท่นยิง
32.แก้วส่งเสียง
33.เขาวงกต
34.หนูวิ่ง
35.กงจักร


ความรู้ที่ได้รับ(เพิ่มเติม)

พลังงานศักย์ คือพลังงานกลในตัววัตถุที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของมัน หรือคือพลังงานในวัตถุที่มีแรงต่อต้านเมื่อมันถูกแรงภายนอกมากระทำให้ขนาดหรือปริมาตรหรือตำแหน่งของมันไม่เป็นไปอย่างอิสระ

พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม

อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น

แรงเสียดทาน (friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่
 แรงลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ในทิศทางแนวราบ
 แรงดัน คือ แรงที่ตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ซต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
 แรงและการเคลื่อนที่ คือ สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตุกำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

การประเมินผล(Evaluation)

  ประเมินตนเอง(Self)
      ตั้งใจดูสื่อการสอนที่เพื่อนนำเสนอ


  ประเมินเพื่อน (Friends)
     เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์คอมเมนเพื่อนๆและร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และจดบันทึกแผนการสอนในชั้นเรียนที่อาจารย์

  ประเมินอาจารย์ (Teachers)

      อาจารย์มีเทคนิคในเรื่องการดูสื่อการสอนของเพื่อนแต่ละคน และช่วยแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่ขาดหายไปหรือตกหล่น




บันทึกอนุทิน ครั้งที่10

เขียนโดย Unknown ที่ 21:58 0 ความคิดเห็น
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  18 ตุลาคม 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ


ในการเรียนชดเชยครั้งนี้ ได้รู้จักการเรียงหัวข้อให้ถูกต้อง






การประเมินผล(Evaluation)

              ประเมินตนเอง(Self)
          ตั้งใจดูตัวอย่างเวลาอาจารย์สอนเขียนแผนการสอนและฟังอาจารย์เวลาที่อาจารย์ให้คำเเนะนำและอธิบายแผนการสอน

              ประเมินเพื่อน (Friends)
        วันนี้  เพื่อนๆมากันน้อเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่เพื่อนคนที่มาก็ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และจดบันทึกแผนการสอนในชั้นเรียนที่อาจารย์ยกตัวอย่างประกอบให้นักศึกษาฟัง

             ประเมินอาจารย์ (Teachers)
                 อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีในเรื่องของการสอนเเผน และอธิบายรายละเอียดให้เข้าใจ เวลานักศึกษาไม่เขาใจก็ถามได้อาจารย์จะอธิบายและกตัวอย่างให้ฟังอย่างเข้าใจ




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

เขียนโดย Unknown ที่ 21:35 0 ความคิดเห็น

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  17 ตุลาคม 2557
กลุ่มเรียนที่ 104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ







การประเมินผล(Evaluation)      
     
ประเมินตนเอง(Self)
          ตั้งใจดูตัวอย่างเวลาอาจารย์สอนเขียนแผนเพราะยังไม่ค่อยเข้าใจ และตั้งฟังอาจารย์เวลาที่อาจารย์ให้คำเเนะนำและอธิบายแนวทางในการเขียนแผนการสอน จะได้เข้าใจมากขึ้น

  ประเมินเพื่อน (Friends)
                เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เวลาที่อาจารย์อธิบายและร่วมกันแสดงความคิดเห็น  มีการจดบันทึกแนวทางในการเขียนแผนการสอนที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังในชั้นเรียน และร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน

 ประเมินอาจารย์ (Teachers)
                 ในเรื่อง การสอนเเผนนั้น อาจารย์มีการอธิบายและยกตัวอย่างทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น  และอาจารย์ก็อธิบายเนื้อหาสาระให้นักศึกษาเข้าใจโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ และจดจำ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น





วิธีการทำสื่อการสื่อการสอน

เขียนโดย Unknown ที่ 20:57 0 ความคิดเห็น


วิธีการทำสื่อการสื่อการสอน

ชื่อสื่อ  โมบายสายรุ้ง

อุปกรณ์

1.ไม้ลูกชิ้น
2.สีน้ำ
3.เอ็นยืด
4.กรรไกร
5.มีดเล็ก
6.พู่กัน
7.ด้าย
8.สีเมจิ

วิธีการเล่น
   นำไปแขวนที่ประตูหรือหน้าต่างแล้วสังเกตการหมุนของโมบาย ถ้าหมุนเร็วก็แสงว่าลมแรง

วิธีการทำ



1.จัดเตรียมไม้ลูกชินเบอร์ 6-7



2.จัดเตรียมไม้ลูกชิน



 3.นำไมลูกชิ้นมาตัดปลายออก



4.เสร็จแล้วจ้ดเตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะทาสี



5.ใช้เชือกและเส้นเอ็นมัดให้ระยะเท่ากัน ด้วยความยาว 12 ซ.ม



6.ทาสีให้มีสีสันสวยงาม



7.เมื่อน้ำเริ่มแห้งทาซ้ำด้วยสีเมจิ



 8.เมื่อเสร็จแล้วนำมาแขวนด้ายและตกแต่งให้สวยงาม




ประโยชน์
เป็นเครื่องช่วยวัดแรงลม และลมหมายถึงการเคลื่อนที่ของอากาศ

ด้านวิทยาศาสตร์
ได้ในเรื่องของแรงลม และการคลื่อนที่ และแสง คือการหมุนทำให้เกิดการเปลี่ยนสี

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

เขียนโดย Unknown ที่ 05:18 0 ความคิดเห็น
สรุปวิจัย   เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย ศรีนวล ศรีอ่ำ

ผลการวิจัยพบว่า  1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี   2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
ได้สรุปไว้ว่า เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก การสำรวจ สังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การชิมรส การรู้สึก การผลัก การดึงการหมุน การผสม การเปรียบเทียบ และอื่น ๆ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเรียนรู้ข้อมูลเนื้อหา และท่องจำกฎหรือสูตรต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็น กระบวนการสังเกต การคิดและสะท้อนความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น สนใจโลกที่ล้อมรอบตัว เป็นการจัด ประสบการณ์เพื่อให้เด็กคิดและแก้ปัญหา และนอกจากนี้ผู้วิจัยใช้หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามที่ ประสาท เนืองเฉลิม (2546, หน้า 26 - 27) เสนอแนะว่าจะสร้างการเรียนรู้ในตนให้กับเด็ก ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนปฏิบัติการเรียนการสอนคือ 1) ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ การลงมือกระทำจริงด้วยตนเอง การได้รับ ประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 2) จัดกิจกรรมตามสภาพจริง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็ก อาศัยอยู่  3) จัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่มีฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก 4) สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ครูกับเด็ก ครูต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำกำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 5) สะท้อนความคิด ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรอง ถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป  จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติ และทักษะการลงความเห็น 

วิธีการดำเนินการวิจัย  การวิจัยนี้ ใช้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัด ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะ การวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมระยะเวลา 35



สรุปผลการวิจัย   1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยเน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 

Science Experiences Management for Early Childhood Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez