บทความน่ารู้
ทักษะการจำแนกประเภท
การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง
ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3
อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม
(Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน
นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า
หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ
ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น
แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้
เป็นต้น
นิวแมน
ได้อธิบายว่า เด็กปฐมวัยสามารถจำแนกวัตถุออกเป็นกลุ่ม ๆ
ได้โดยการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุหรือมิติของวัตถุนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก
อาทิ สี ความแข็งแรง ขนาดและรูปร่าง เป็นต้น เด็กบางคนอาจจำแนกวัตถุต่าง ๆ
ออกเป็นกลุ่มได้โดยใช้คุณสมบัติหรือมิติมากกว่าหนึ่งอย่าง
ในการจำแนกนี้เด็กควรจะได้รับโอกาสที่ให้สามารถคิดตัดสินใจในการจำแนกโดยใช้
วิธีการจำแนกของเด็กเอง และไม่ใช่วิธีการจำแนกของผู้อื่นกำหนดให้ สำหรับ เรส์ด
และแพทเตอร์สัน (Resd and Patterson) ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า
การจำแนกประเภทเป็นแกนกลางของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่ใช้วิธีการจัดระเบียบการสังเกตด้วยตนเอง
การจำแนกประเภทนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่
2 อย่าง คือ เนื้อหาของกระบวนการวิชา คือ
วิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
ตลอดทั้งกระบวนการของการจำแนกประเภทของเด็กในการเรียนเกี่ยวกับลักษณะพิเศษ
ของวัตถุชนิดต่าง ๆ
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนก
ประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น
เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย
ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว
ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท
การแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี
และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2
ลักษณะ
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด
รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด
รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก
น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด
หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช
(อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด
ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด
ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ
และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร
หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่
เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท
โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร
หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น
2 กลุ่มได้ไหม”